บันทึกเมษาหน้าโง่: ประภากรเอกทศฤกษ์ ราชบัณฑิตสถาน กับความกระตุกจิตกระชากใจ

วันก่อนเขียนโพสต์ April Fool Day ลง Spaceth.co มา ถ้าใครไม่เห็นสรุปแบบรวบรัด คือตั้งใจจะกวนตีน + แอบแซะ (ตัวเอง/เพจ) นี่แหละ เรื่องที่ชอบ “เกี่ยวกับการใช้ภาษา Thai คำ อังกฤษ Kum การสะกดผิดจำนวนมาก และการใช้ไวยากรณ์แบบกระตุกจิตกระชากใจ” เลยจะเปลี่ยนชื่อเพจเป็น “อุปริมทิศสยาม.สหาย” และจะใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

ซึ่ง Core ของ Joke นี้ก็คือความเล่นใหญ่ของ “การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องนี่แหละ” ที่แทนที่แค่จะเลิกเขียนไทยแบบมั่ว ๆ สะกดถูก ๆ ผิด ๆ ก็ไป บาลีสันสกฤตing จนมันอ่านไม่รู้เรื่อง แบบ “ศักราช ๒๕๑๒ ศก จันทรคตินิยม กุกกุฏสมพัตสร อาสาธมาส ชุณหปักษ์ ทุติยดิถิ ตริบุรุษคระไลเยือนนิศาบดี” ให้คนปวดหัวเล่น ๆ (55) พอมาตกผลึกไอ้มุกโง่ ๆ อันนี้ดูอีกที + วิเคราะห์ Reaction ที่หลากหลายจากทั้งคนที่ชอบหรือไม่ชอบ Joke นี้ ก็เห็นประเด็นเชิงโครงสร้างสังคมที่น่าสนใจผุดขึ้นมาหลายข้อเลย ซึ่งอยากเอามาลอง Deconstruct (//แบบ Deconstruct ในความหมายตรงเฉย ๆ ไม่ได้โพสต์โมเดิร์นing :-P) ดูในโพสต์นี้:

ชาติ ภาษา ชุมชนจินตกรรม

มุมมองที่อยากเอามาพิจารณาเป็นฐานของโพสต์นี้เริ่มต้นจากแนวคิดเรื่อง “ชุมชนจินตกรรม” (Imagined Communities) อันโด่งดัง (และถูกเอาไปอ้างอิงโคตรเยอะ) ของ Benedict Anderson ที่วิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างของ “ชาติ” ที่ผุดโผล่ขึ้นมาจากสังคมของความเป็น “รัฐ” ในมุมมองของกลไลการประกอบสร้างชุดแนวคิดเหล่านี้ขึ้นมา หัวใจหลักของแนวคิดนี้เกิดมาจากการมองชาติในเชิงของชุมชนจินตกรรมที่ประชาชนที่อาศัยในชาติ มองตัวเองอยู่ในกลุ่มก้อนของชุมชนชาติอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียว ทั้งที่อาจรู้จักคนเพียงเสี้ยวเดียวของชุมชนนั้น

คำถามที่น่าสนใจคือการที่คน ๆ หนึ่งมองตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มก้อนชุมชนนี้ เกิดขึ้นมาจากกลไกอะไรบ้าง?

สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือความแตกต่างทางนิยาม (อย่างน้อยก็ตามความหมายของคุณ Anderson) ระหว่างความเป็น “รัฐ” (State) กับความเป็น “ชาติ” (Nation) ในขณะที่ความเป็นรัฐจะให้ความหมายในเชิงของพื้นที่-สถาบันที่เป็น Political Entity ที่มักถูกนิยามกรอบด้วยเขตแดนทางภูมิศาสตร์หรือทางกฏหมาย ความเป็นชาตินี่เองที่เป็นตัวประสานพลเมืองของรัฐให้เชื่อมโยงกันได้โดยที่ไม่รู้จักกัน โดยที่การสร้างความเป็น “ชาติ” เองก็คือวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นให้กับ “รัฐ” อีกทีหนึ่ง

ในทัศนะนี้ความเป็นชาติเกิดขึ้นผ่านการ “จินตกรรม” ความเชื่อ-คติ-แนวคิดร่วม ที่ถ่ายทอดออกมาผ่านสิ่งต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องเล่า ตำนาน วัฒนธรรม และที่สำคัญ: “ภาษา” นั่นเอง

อย่างที่เป็นที่รู้กันดี ภาษา คือเครื่องมือที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความเชื่อกันได้อย่างลึกซึ้ง จากบทบาทของภาษา as a crucial part of human communication (ที่เชื่อมโยงไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเชื่อ) นี่เอง [disclaimer: simplify สุด ๆ] มันได้ก่อบทบาทซ้อนทับในการสร้าง sense of belonging ของการเป็นพลเมืองรัฐชาติในหมู่คนใช้ภาษาเดียวกัน ผ่านการเป็นแก่นของ print media ที่เป็นเรื่องมือสำคัญของการส่งต่อความคิดที่กว้างกว่าภายในชุมชน (in a common sense) เกิดเป็น “สุญกาลสหมิติ” (homogenous empty time) อย่างต่อเนื่องที่ข้ามผ่านสถานที่และเวลา “จินตกรรม” กลายเป็นชุมชนจินตกรรมในที่สุด

หมายเหตุ: มีบทความ case study เรื่องอำนาจของ print media ในเชิงการสร้างสำนึกชาติที่น่าสนใจมากอันนึง อยากชวนไปลองอ่าน -> นิธิ เอียวศรีวงศ์ : ‘อำนาจทางการพิมพ์’ ของกรุงเทพฯ ที่ยึดไว้ https://www.matichonweekly.com/column/article_134393

จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ก็คงเห็นได้ระดับหนึ่งแล้วว่าภาษาไม่ได้มีบทบาทแค่เพียงการส่งข้อมูลทางตรงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในแง่ของการสร้างความเป็นปึกแผ่นในหมู่คนใช้ภาษาเดียวกัน เชื่อมโยงหมู่ผู้คนที่ไม่รู้จักกันผ่านสายใยของชุดสัญลักษณ์ร่วม “จินตกรรม” เกิดเป็นความเป็นชาติและที่มาของสำนึกชาตินิยม และจากตรงนี้เราจะได้เห็น context ของภาษาในฐานะของเครื่องมือทางสังคมที่สำคัญเป็นอย่างมากชิ้นหนึ่ง

อำนาจกับการสร้างมาตรฐานทางภาษา

ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ยุคใหม่ค่อนข้างเห็นตรงกันว่าการใช้ภาษาโดย agent สักคนมีความเป็นปัจเจกค่อนข้างสูง แม้แต่สายที่เชื่อเรื่อง universal grammar ส่วนใหญ่ก็มองในเชิงของโครงสร้างทางธรรมชาติ กับ interaction ของมนุษย์ในการทำความเข้าใจ universal grammar ในเชิง abstraction level มากกว่าการให้คุณค่ามาตรฐานภาษาที่กำหนดโดยมนุษย์

เมื่อเข้าใจข้อนี้ตรงกัน สิ่งที่ imply ออกมาได้คือภาษาในเชิงปฏิบัติไม่ได้มีมาตรฐานอย่างแท้จริง แต่อาจเป็นเพียงแค่วิถีร่วมของกลุ่มชนในการใช้รูปคำ ไวยากรณ์ หรือลักษณะเชิงโครงสร้างอื่น ๆ ไม่ใช่ข้อบังคับแบบ absolute ซึ่งก็เป็นที่มาของวลีที่ถูกพูดกันอย่างแพร่หลายเข้าใจง่ายว่า “ภาษาดิ้นได้” หรือ “ภาษาที่ไม่มีวิวัฒนาการคือภาษาที่ตายแล้ว” นั่นก็เพราะมนุษย์เป็นผู้ควบคุมการใช้ภาษา ไม่ใช่ในทางตรงกันข้าม

แนวทางหนึ่งที่ใครสักคนจะสามารถควบคุมหรือกำหนดอัตลักษณ์หรือความเป็นชาติได้ ก็คือการกำหนดกรอบการใช้ภาษาผ่านการสร้างมาตรฐานทางภาษาขึ้นมา (พูดในเชิง neutral ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี) ไม่ใช่เพื่อเป็นมาตรฐานแบบ absolute ที่ไม่มีทางเป็นไปได้ (อย่างที่กล่าวไปในย่อหน้าที่แล้ว) แต่เพื่อเป็นการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงในฐานะสถาบันอำนาจ

มีประเด็นที่น่าสนใจของการสร้างมาตรฐานทางภาษาอยู่ข้อหนึ่ง Validity ในฐานะสถาบันที่กำหนดเกณฑ์ — ถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ คือใครก็สามารถสร้างมาตรฐานของภาษาในแบบของตัวเองได้ แต่สิ่งที่จะทำให้มาตรฐานทางภาษาที่ถูกกำหนดขึ้นนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย “ความชอบธรรม” หรือ “อำนาจ” ของผู้กำหนดมาตรฐานนั้นนับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก จินตนาการดูถึงในเคสของไทย เราจะเห็นว่าหนึ่งในสำนักที่มีอิทธิพลในการกำหนดกรอบการใช้ภาษา หรืออะไรคือ “ภาษาที่ดี” / “ภาษาที่ไม่ดี” ก็คือราชบัณฑิตสภา ผ่านการทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ประกอบกับหน้าที่โดยกฏหมายในการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “นิยาม” ของคำ ที่จะถูกนำไปใช้ (อย่างน้อย) ในกรอบของการทำงานราชการ ตามข้อกำหนดของกฎหมายอีกที

หมายเหตุ: มีประเด็นน่าสนใจอย่างนึงถ้าอยากเอาไปอย่างเพิ่ม -> ถ้าเราไปสืบเสาะประวัติของการทำพจนานุกรม เราจะพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนตามกาลเวลา พจนานุกรมที่ถูกทำขึ้นในยุคแรกมีบทบาทออกไปในเชิงของการทำเชิงอรรถาธิบายที่เข้าใจยาก – เพื่อเป็นเครื่องมือ map ภาษาสำหรับการสื่อสารระหว่างกลุ่มชนมากกว่า จนเพิ่งเมื่อไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมาที่เพิ่งเริ่มมี movement ของการสร้างปทานานุกรมหรือพจนานุกรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการ standardize ภาษานี่เอง ซึ่งก็รวมไปถึงการสร้างพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตด้วย

พูดอีกนัยหนึ่งคือ ในขณะที่การสร้างมาตรฐานทางภาษาเป็นเครื่องมือที่สถาบันอำนาจสามารถใช้เพื่อควบคุมปัจจัยทางสังคมหรือเพื่อเพิ่มอำนาจควบคุมแล้ว สถาบันอำนาจเหล่านั้นก็ต้องมี/สร้าง/ใช้อำนาจของตัวเองเพื่อแสดงให้คนอื่นรับรู้ถึงความชอบธรรมในการสร้างนิยาม รวมไปถึงทำให้นิยามที่ตนสร้างสามารถกลายเป็นมาตรฐานได้จริง หรือถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

ในกรณีของราชบัณฑิตสภา อาจมองได้ว่าความชอบธรรมนี้เกิดมาจากกรอบที่กฎหมายให้อำนาจไว้ — ซึ่งที่จริงอาจเป็นทางอื่นก็ได้ เช่นทางวัฒนธรรม อย่างการที่ผู้กำหนดนิยามเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องหนึ่ง ๆ ซึ่งก็พบได้ทั่วไปในทางของคำเฉพาะที่ละเอียด/มากเกินกว่าราชบัณฑิตสภาจะนิยามได้หมด อย่างเรื่องอวกาศ เวลาเขียน Blog ละคำไหนไม่มีคำไทยที่นิยามตามราชบัณฑิต ถ้าไม่ทับศัพท์ก็จะใช้คำจากพวก NARIT หรือหน่วยงานฟิสิกส์ทำนองนี้ — โจทย์ถัดมาคือการเชื่อมต่อการใช้งานโดยภาคราชการ (ซึ่งลุล่วงแล้วด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย) ไปสู่การที่นิยามจะถูกใช้โดยภาคสังคม

ส่วนตัวเชื่อว่ากลไกหนึ่งที่ถูกใช้สำหรับการเชื่อมต่อทางภาษาที่ว่ามาคือการสร้าง hierarchy ทางสังคมระหว่างคนที่ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักนิยามทางการ กับคนกลุ่มอื่น ๆ อย่างภาษา Thai คำ อังกฤษ Kum หรือ กรรณใฌ๊ย์พาศาษก๊ฮญม์ (again, พูดในโทน neutral ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี) รวมไปถึงการสร้างความคุ้นชินในการใช้ภาษาตามนิยามผ่านการศึกษาตามระบบ (อยากให้มองในเชิงกลไก ไม่ใช่ว่าเป็น propaganda หรืออะไร แต่มันเป็นสิ่งที่ยังไงมันก็เกิดขึ้น ไม่ว่ากับประเทศไหน ๆ อยู่ดี — รวมไปถึงเรื่องการใช้ภาษากับการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติด้วย)

การช่วงชิงคติความคิดและแกรนด์แนเรทีฟ

มีประเด็นอย่างนึงที่เกี่ยวข้องที่อยากเอามาเล่า โดยงไปถึงหนังสือเจ๋งเท่ที่ผมชอบมากเล่มนึงชื่อ “พจนานุกรมสร้างชาติ: อุดมการณ์รัฐไทยในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ที่พยายามแกะความเชื่อมโยงระหว่างสังคมกับนิยามที่เปลี่ยนแปลงไปในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ถ้าเราไปลองดู เราจะได้เห็น power game ที่น่าสนใจมากอันนึงของสถาบันอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป ในการสร้างชุดคติของประชาชนผ่านการนิยามศัพท์ (again, รอบที่ล้าน, neutral)

อย่างชัดสุด คำว่า “ชาติ” ที่ในยุคหนึ่งถูกเน้นความหมายในเชิงความหลากหลายของชนชาติ ในขณะที่บางยุคถูกจำกัดความในเชิงของการเป็นประเทศของชนชาติไทย (ตามยุคไทยนิยมของจอมพลแปลก) เรามองว่ามันมีความสำคัญในสองแง่ หนึ่งคือการเป็นเครื่องบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ถึงชุดความคิดของคนในยุคนั้น หรือที่ผู้มีอำนาจในยุคนั้นอยากให้เป็น กับสอง ปรากฎว่านิยามที่ถูกใช้พจนานุกรมราชบัณฑิตสถานยังอาจถูกนำไปใช้สำหรับการตีความทางกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบทางตรงต่อคนทั่วไปในเชิง active อีกด้วย (นั่นแหละ ก็เป็นหนึ่งในกลไกการสร้างความชอบธรรมให้กับหน่วยงานที่สร้างนิยามเป็นลูปอีกทีหนึ่ง)

หลายคนคง imply ได้จากสองพาร์ทที่เล่ามา: การถืออำนาจในการกำหนดมาตรฐานทางภาษา ส่งผลกระทบต่อการสร้างคติของความเป็น “ชาติ” หรือการนิยามคติทางสังคมอีกที (ที่อาจสื่อได้ผ่านวลีที่ถูกเอามาพูดกันบ่อย ๆ เช่นกัน อย่าง “คำบางคำสื่อได้ในภาษาบางภาษา ดีกว่าอีกภาษาหนึ่ง” หรือถ้าใครนึกภาพไม่ออก จินตนาการภาพ extreme case อย่างหนังเรื่อง Arrival ก็ได้ (ชอบมากกก) ที่การเข้าใจภาษาเอเลี่ยน อาจทำให้เข้าใจชุดวัฒนธรรมหรือแนวคิดที่เปลี่ยนไปอีกทีหนึ่ง) // และสั้น ๆ การถือนิยามทางภาษายังอาจเป็นเครื่องมือให้ agent ที่ถือสามารถประกอบสร้าง grand narrative ทางประวัติศาสตร์/สังคมขึ้นมาได้ง่ายขึ้นด้วย [oversimplification — จริง ๆ ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่สืบเนื่อง/แปรผันกัน แต่อยากยกว่าการนิยามภาษาเป็นหนึ่งในนั้น]

อันใดคือ Thai แท้, บาลีสันสกฤตing, และ Thai คำ อังกฤษ Kum (ถูก oxford comma นะ!)

คำถามคือเราจะนิยามภาษาไทยที่แท้จริงจากไหน? พ่อขุนรามคำแหง? อยุธยา? จารึกสมัยต้นรัตนโกสินทร์? ราชบัณฑิต? ทุกคนคงเห็นตรงกันว่ามันทำไม่ได้ เราไม่สามารถใช้คำศัพท์แค่ในจารึกหลักที่ 1 มาเพื่อสื่อสารกันในปัจจุบันได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับข้ออื่น ๆ นั่นเพราะสุดท้ายแล้ว เราไม่มีทางปฏิเสธวิวัฒน์ (a.k.a. ความลื่นไหล a.k.a. ความลื่นล้ม) ของภาษาได้

ในอดีตเราเริ่มรับภาษาขอม บาลีสันสกฤต เข้ามีฟิวชั่นกับภาษาไทย มีแนวคิด กระบวนวิธี คติต่าง ๆ ที่ติดมาและได้ขยายของเขตความคิดของผู้ใช้ภาษาไทยออกไป ยุคต่อมาเราผสมจีนเข้ามานิด อังกฤษเข้ามาหน่อย แต่สำหรับเราแล้ว สุดท้ายมันก็คือภาษาไทย เพียงแค่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น

สำหรับ Spaceth เราใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เราไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็น Thai คำ อังกฤษ Kum หรือไม่ สิ่งที่เราต้องการ คือเราจะถ่ายทอดข้อมูลให้กับผู้อ่านได้ effective ที่สุดอย่างไร หรือกระตุกจิตกระชากใจมากที่สุดได้อย่างไร

จากที่เล่ามาทั้งหมดจะสื่ออะไร?

อย่างแรกเลยคือจากทฤษฎี/case study ที่ยกมา เราอยากให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ภาษาอาจไม่ใช่สิ่งที่อยู่บนหิ้ง แต่คือระบบที่มีพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เราไม่ได้รู้สึกแปลกใจที่ใครหลายคนอาจรู้สึกไม่ขำกับมุกนี้ จากการที่รู้สึกเหมือนกับเอาภาษามา “ลบหลู่” เพราะการสร้างความศักดิ์สิทธ์ให้กับสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม (ซึ่งรวมไปถึงภาษา) ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่น่าสนใจและเกิดขึ้นอยู่ในระบบของการสร้างความเป็น “ชาติ” เหมือนกัน

เพราะสุดท้ายมาตรฐานของภาษาตามนิยามของมนุษย์ไม่มีอยู่จริงในทางธรรมชาติ (ไม่นับระดับ abstract อย่าง universal grammar ที่หลายคนอาจจะเชื่อ) แต่เป็นผลผลิตทางสังคมของผู้คน หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้น (ซึ่งอาจรวมไปถึงการสร้างชุดความเชื่อว่ามาตรฐานทางภาษามีอยู่จริง) เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่

เราอยากให้ลองกระตุกจิตกระชากใจออกมาพิจารณาถึงภาพที่ใหญ่ขึ้นมานิดนึง จากทั้งในหน้าประวัติศาสตร์ทั้งไทยและเทศ เราจะเห็นกลไกอันซับซ้อนและน่าหลงไหลของสิ่งประดิษฐ์สุดเท่ที่เรียกว่า “ภาษา” มากกว่าแค่ในมิติของความศักดิ์สิทธิ์ของมัน

จากตรงนี้นี่เอง ที่เราจะเอาภาษาลงจากหิ้ง เพื่อเห็นความสวยงามของมันอย่างใกล้ชิดแท้จริง

แมว วาราบิโมจิ ปิศาจสปาเกตตี้บินได้