สรุปเหตุการณ์ Super Blood Wolf Moon ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมาป่า และอุกกาบาตกใส่ดวงจันทร์

เมื่อวันที่ 21 มกราคม เวลา 02.35 น. จนถึง 07:49 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช หรือเวลา 09.35 น. จนถึง 14.49 น. ตามเวลาประเทศไทยที่ผ่านมานั้น ผู้คนที่อยู่ใต้ฟ้าอเมริกาเกือบทุกคนต่างเฝ้ามองและรอคอยปรากฎการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ที่หายากอีกปรากฎการณ์หนึ่ง นั้นก็คือ Super Blood Wolf Moon

Super Blood Wolf Moon ที่ไม่ได้หมายถึงหมาป่า

ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ทาเรียงตัวกันอยู่ในแนวเดียวกัน โดยที่มีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสอง เงาของโลกได้เข้ามาตกทับดวงจันทร์ทำให้คนบนโลกสังเกตเห็นดวงจันทร์ในขณะนั้นคล้ายกับว่ามีเงาดำค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้ามาทับดวงจันทร์ เหมือนกับว่ามันกำลังกินดวงจันทร์ดวงนี้เข้าไป คนโบราณส่วนใหญ่ก็มักจะเรียกกันว่า ราหูอมจันทร์ หรืออีกชื่อเรียกว่าจันทรุปราคา

การเกิดจันทรุปราคา ที่มา – NASA/JPL

การเกิดปรากฎการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทยก็ได้เกิดมาหลายครั้งนับไม่ถ้วน ยกตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฎการณ์ Super Blue Blood Moon เมื่อตอนต้นปีที่แล้วก็เกิดในประเทศไทยเช่นกัน แต่ในครั้งนี้เป็นการเกิดจันทรุปราคาอีกชนิดหนึ่งนั้นก็คือ Super Blood Wolf Moon

ขนาดและความสว่างของ Super Moon เมื่อเทียบกับ Micro Moon ที่มา – NASA/JPL

ความหมายของชื่อเรียก Super Blood Wolf Moon ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหมาป่าอยู่เลย เพียงแต่คำว่า Wolf Moon ในที่นี้ใช้เรียกดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมกราคม ส่วน Super Moon ใช้เรียกดวงจันทร์ขณะเข้ามอยู่ในตำแหน่งใกล้โลก มีขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ พอนำมารวมกันแล้วจึงให้ความหมายภาษาไทยเป็นนัยว่า ปรากฎการณ์จันทรุปราคาที่ดวงจันทร์ในตำแหน่งใกล้โลกในเดือนมกราคม

Blood Moon เมื่อพระจันทร์เปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ ที่มา – NASA/JPL

ส่วน Blood Moon นี้ จะเป็นการบอกว่าดวงจันทร์นี้จะกลายเป็นสีแดงอิฐคล้ายสีเลือด ซึ่งมันเกิดขึ้นเมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เมื่อดวงจันทร์ค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้าไปในเงามัวของโลกดวงจันทร์จะค่อย ๆ มืดลงและเห็นเป็นแต่เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้ามาในเงามืด (โลกบังดวงจันทร์ 100%) นั้น สิ่งที่เราคาดหวังคือดวงจันทร์จะต้องมืดหมดทั้งดวง แต่จริง ๆ แล้ว ดวงจันทร์จะไม่มืดทั้งดวง เพราะยังมีแสงอาทิตย์บางส่วนส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมาเฉพาะแสงช่วงคลื่นสีแดง ทำให้เราเห็นดวงจันทร์ในตอนนั้นเป็นสีแดงอิฐนั้นเอง

อุกกาบาตพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ในเวลาพอดี

ในวันนั้นมีการถ่ายทอดสดปรากฎการณ์นี้ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย ซึ่งกล้องทุกตัวบนโลกที่ทำการสังเกตจันทรุปราคาอยู่นั้น กำลังสังเกตดวงจันทร์ดวงเดียวกัน ทุกกล้องที่ทำงานอยู่ในขณะเวลานี้จึงสังเกตเห็นแสงวูบวาบขนาดเล็กไม่กี่พิกเซลบนจอแสดงผล เมื่อทำการตรวจสอบแล้วพบว่าแถวบริเวณทางทิศใต้ของหลุมอุกกาบาต Byrgius บนดวงจันทร์ก็ได้เกิดการปะทะเข้ากับอุกกาบาตพอดิบพอดี

จากข้อมูลของคุณ Robert Frost เขาได้ให้ข้อมูลไว้ว่าใน 1 วันมีอุกกาบาตจำนวนมากกว่า 10,000 ลูกเข้ากระทบกับดวงจันทร์ของเรา มันอาจจะฟังดูมากมายแต่อย่าลืมว่าดวงจันทร์ก็มีขนาดใหญ่มากเช่นเดียวกัน สาเหตุที่เราไม่ได้ยินเสียงหรือสัญญาณอะไรที่มากระทบกับดวงจันทร์นั้นเป็นเพราะว่า ดวงจันทร์มีค่าความสว่างมากทำให้การระเบิดหรือการปะทะของอุกกาบาตนั้นไม่สามารถสังเกตเห็นได้ และอีกอย่างคือเสียงเป็นคลื่นกลที่จำเป้นต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

นอกจากนี้ Moon Impacts Detection and Analysis System หรือ MIDAS ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พยายามติดตามและสังเกตการชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์มาตลอดในช่วงคืนเดือนมืด ก็ได้ทำการตรวจสอบและจับภาพขณะที่อุกกาบาตลูกนี้พุ่งเข้าชนดวงจันทร์เช่นกัน และตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างการตรวจสอบถึงที่ไปที่มาของอุกกาบาตลูกนี้ พร้อมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุกกาบาตและการชนครั้งนี้ ซึ่งผู้เขียนก็จะนำมา Update ต่อในครั้งหน้า

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การเกิดปรากฎการณ์ทั้ง 3 อย่างพร้อมกันนั้นเป็นไปได้ยากมาก ทำให้นักดาราศาสตร์และผู้คนเกือบทั่วโลกได้เฝ้ารอคอยและติดตามชมปรากฎการณ์นี้ทั้งบนจอโทรศัพท์มือถือ ทางโซเซียลต่าง ๆ หรือใครที่อยู่ในบริเวณแถบอเมริกาก็จะได้เห็นปรากฎการณ์นี้อย่างเต็มอิ่มเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังได้เห็นการพุ่งชนของอุกกาบาตที่ชนเข้ากับดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเกือบเต็มดวง ซึ่งจะเห็นเป็นแสงสว่างวูบวาบเล็ก ๆ การสังเกตเห็นครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่สังเกตเห็นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ทั้ง 8 ที่ MIDAS ทำการรอสังเกตอยู่ แต่ยังสังเกตเห็นโดยคนนับล้านทั่วโลกผ่านการไลฟ์สดอีกด้วย (แถมเห็นชัดมากด้วย) และนี้ก็อาจจะเป็นเพียงไม่กี่ครั้งที่เราได้บันทึกการพุ่งชนดวงจันทร์ของอุกกาบาต หลังจากมีการบันทึกการพุ่งชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์ได้ในปี 2018

และน่าเสียดายที่ประเทศไทยของเราไม่ได้รับสิทธินั้นในการรับชมปรากฎการณ์นี้ผ่านตาตัวเอง แต่ก็ยังสามารถรับชมได้ผ่านทางการถ่ายทอดสดต่าง ๆ

 

อ้างอิง

A meteor hit the moon during the lunar eclipse. Here’s what we know.

A meteorite hit the moon during yesterday’s total lunar eclipse

มายด์ - บรรณาธิการและนักเขียน นิสิตปี 1 ภาคฟิสิกส์ จุฬาฯ สนใจเรื่องอวกาศ วิทยาศาสตร์ BLACKPINK อดีตไอดอลที่ออกวงการมาแล้ว และในปัจจุบันนี้เป็น Atomic Queen Ambassador of Physics 2019