ถ้าจะพูดถึงบันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ใช้บันทึกเรื่องราวในสมัยนั้น ๆ ได้ก็คือสื่อ สื่อในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่สามารถช่วยสะท้อนเรื่องราว มุมมอง และความคิดของคนในยุคนั้น ๆ และถ้ามันดีพอ มันจะสามารถบันทึกเรื่องราวแช่แข็งไว้ในตัวหนังสือและวิธีการสื่อสารของสิ่งสิ่งนั้น
หนึ่งในนิตยสารที่ผู้เขียนชื่นชอบมากที่สุด คือนิตยสาร TIME แม้ว่าปัจจุบันจะเดินทางมาถึงยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบจากการมาของอินเทอร์เน็ต และสื่อบางส่วนต้องปรับตัวมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้ว่า TIME จะได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ชื่อเสียงของ TIME ก็ยังเป็นเกราะสำคัญที่ (อาจจะ) ช่วงปกป้อง TIME ในยุคนี้ได้
TIME นั้นเป็นนิตยสารสัญชาติอเมริกันที่รวบรวมเรื่องราวและประเด็นต่าง ๆ ในสังคมสมัยนั้น ด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าร้อยปี ทำให้ TIME ได้มีส่วนร่วมในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ไว้ได้
หนึ่งในเรื่องราวเหล่านั้นก็คือการสำรวจอวกาศ ซึ่งเริ่มต้นกันมาไม่ถึง 100 ปี ทำให้ TIME ได้บันทึกเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของการสำรวจอวกาศจากอดีตสู่ปัจจุบันได้อย่างดีเยี่ยม
ทีมงาน Spaceth.co ได้รวบรวมเรื่องราวน่าสนใจจากปกนิตยสาร TIME ที่มีการพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศมา 12 หน้าปก ซึ่งแต่ละปกจะสะท้อนยุคสำคัญยุคไหน ต้องลองมาดูกัน
Journey Into Space
8 ธันวาคม 1952 ในปี 1952 ไม่กี่ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง โลกได้เข้าสูยุคที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศ ปกของนิตยสาร TIME ในเดือนธันวาคมปี 1952 นั้นเป็นภาพของหุ่นยนต์ มีจานรับสัญญาณ เลเซอร์ และเครื่องยนต์จรวด กำลังก้าวย่างอย่างเซ ๆ บนดวงจันทร์บริวารดวงหนึ่งของดาวเสาร์
นี่คือภาพที่คนในยุคนั้นมองเห็นต่อการสำรวจอวกาศ มันดูเป็นเรื่อง Sci-fi ที่ห่างไกลความเป็นจริง ใครจะรู้ว่าอีก 5 ปีต่อมา โซเวียตจะสามารถส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่อวกาศได้จริง ๆ หนึ่งในประโยคที่ปรากฏในบทความนั้นคือ “นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการเดินทางสู่อวกาศ” และในตอนนั้นก็อยู่ระหว่างที่ Von Braun กำลังเรียกร้องให้สหรัฐเริ่มต้นการสำรวจอวกาศ (หลังจากที่เขายอมจำนนต่อทหารสหรัฐหลังทำงานให้กับนาซีในสงครามโลกครั้งที่สองในการสร้างจรวด V2 จรวดลำแรกของโลกที่แตะขอบอวกาศ)
“Some serious scientists believe that space flight will surely come, and perhaps soon, but they know that separating facts and fancy about space”
แทบจะเป็นครั้งแรกที่เรื่องราวของการสำรวจอวกาศปรากฏออกมาอย่างกว้างขวางในหมู่อเมริกันชนผ่าน บทความ ของ TIME และดึงความสนใจของคนในตอนนั้นได้ว่าอเมริกากำลังจะเริ่มต้นการสำรวจอวกาศอย่างจริงจัง
Yuri Gagarin
12 เมษายน 1961 เพียงแค่ 4 ปีหลังจากที่สหภาพโซเวียตสามารถส่ง Sputnik-1 ดาวเทียมดวงแรกที่โคจรรอบโลก สร้างกระแสเกี่ยวกับอวกาศไปทั่วโลก จนอเมริกาต้องเร่งโครงการต่าง ๆ และสามารถส่ง Exploror 1 ดาวเทียมดวงแรกของอเมริกาได้สำเร็จ แต่สหภาพโซเวียตก็ทำให้ทั่วโลกตกตะลึงอีกครั้งด้วยการส่ง “มนุษย์คนแรก” ขึ่นสู่วงโคจร
ชื่อของ ยูริ กาการิน ถูกพูดถึงไปทั่วโลก หลังจากการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียต แน่นอนว่าสื่ออเมริกันต่างเล่นข่าวนี้ TIME เองก็เช่นกัน
“Triumphant music blared across the land. Russia’s radios saluted the morning with the slow, stirring beat of the patriotic song, How Spacious Is My Country. Then came the simple announcement that shattered forever man’s ancient isolation on earth: “The world’s first spaceship, Vostok, with a man on board, has been launched on April 12 in the Soviet Union on a round-the-world orbit.”
ท่อนนี้ตัดมาจากส่วนหนึ่งของ บทความ ที่กล่าวบรรยายบรรยากาศการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ในกรุงมอสโควต้อนรับการกลับมาจากอวกาศของชายคนแรกที่เดินทางท่องอวกาศ
Anders, Borman, Lovell: Men of the Year
3 มกราคม 1969 ในปี 1968 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาต้องช็อคเมื่อเกิดการลอบสังหาร Robert F. Kennedy น้องชายของ John F. Kennedy (ที่ถูกลอบสังหารในปี 1963) และ Dr. Martin Luther King ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอเมริกันต่างเสียขวัญ ความสำเร็จในการเดินทางไปยังดวงจันทร์ของ Frank Borman, James Lovell และ William Anders ในภารกิจ Apollo 8 ทำให้ชาวอเมริกันกลับมามีขวัญกำลังใจอีกครั้งหนึ่ง
ภารกิจ Apollo ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ตามเป้าหมายของ John F. Kennedy ซึ่งหลังจากการทดสอบต่าง ๆ นานหลายปี มนุษย์กลุ่มแรกก็ได้เดินทางไปยังดวงจันทร์ และโคจรรอบดวงจันทร์ในค่ำคืนวันคริตส์มาส ปี 1968 พร้อมกับส่งคำอวยพรมาให้กับชาวอเมริกัน จากดินแดนที่ห่างไกลที่สุดที่มนุษย์เคยไปเยือน ใน บทความ กล่าวไว้ว่า
It was the courage, grace and cool proficiency of Colonel Frank Borman, Captain James Lovell and Major William Anders that transfixed their fellowmen and inscribed on the history books names to be remembered along with those of Marco Polo and Amundsen, Captain Cook and Colonel Lindbergh. In 147 hours that stretched like a lifetime, America’s moon pioneers became the indisputable Men of the Year.
กระแสข่าวในช่วงนั้นต่างเป็นในเชิงยกย่องฮีโร่ชาวอเมริกันที่ทำงานใน NASA และทำให้อเมริกากลายเป็นชาติแรกที่ส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
A Giant Leap For Mankind
25 กรกฏาคม 1969 แน่นอนว่าเหตุการณ์สำคัญหลังจากการโคจรรอบดวงจันทร์ครั้งแรกของมนุษย์ ในภารกิจ Apollo 8 ในภารกิจ Apollo 11 ชาวอเมริกัน 3 คนได้แก่ Neil Armstrong, Buzz Aldrin และ Michael Collins ได้กลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้พวกเขาได้สร้างประว้ติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาของมนุษยชาติ Neil Armstrong และ Buzz Aldrin เดินทางลงไปยังพื้นผิวของดวงจันทร์ พวกเขาประทับรอยเท้ารอยแรกของมนุษย์ลงบนดวงจันทร์
After centuries of dreams and prophecies, the moment had come. Man had broken his terrestrial shackles for the first time and set foot on another world. Standing on the lifeless, rock-studded surface he could see the earth, a lovely blue and white hemisphere suspended in the velvety black sky. The spectacular view might well help him place his problems, as well as his world, in a new perspective.
บทความในนิตยสาร TIME เรื่องนี้สร้างแรงบันดาลใจให้กับอเมริกันชนในการเดินทางสำรวจอวกาศ และการเป็นบันทึกหน้าสำคัญในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ที่บันทึกไว้ว่า ในปี 1969 มนุษย์กลุ่มหนึ่งได้ทำให้โลกและสวรรค์ได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
Triumph Over Failure
27 เมษายน 1970 “Huston, we have a problem“ ประโยคเด็ดจากสิ่งที่เกือบจะเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญในการสำรวจอวกาศ เมื่อยาน Apollo 13 ที่เดินทางไปดวงจันทร์เกิดอุบัติเหตุถังเชื้อเพลิงระเบิดในขณะเดินทางไปดวงจันทร์ทำให้ภารกิจต้องถูกยกเลิกและเดินทางกลับโลกทันทีด้วยความสามารถในการแก้ปัญหา ความอดทน และความเชื่อมั่นว่าพวกเขาต้องรอดชีวิต นักบินทั้ง 3 คนกลับโลกมาได้อย่างปลอดภัย
Under its cheerful orange-and-white parachutes, Odyssey came down gently in placid, warm, South Pacific waters. The ripples from that splash spread around the globe. For four days a fractured world inured to mass suffering and casual death had found common cause in the struggle to save three lives.
บทความ ของ TIME ได้บรรยายการรอดชีวิตของนักบินทั้ง 3 คนหลังจากภารกิจอันแสนลุ้นระทึกครั้งนี้ ภาพที่ TIME เลือกมาแสดงคือภาพของนักบินยาน Apollo ทั้ง 3 คนที่กำลังสวดมนต์ขอบคุณอะไรก็ตามที่พาพวกเขากลับมายังพื้นโลกได้สำเร็จ
Challenger Explodes
10 กุมภาพันธ์ 1986 ภาพการระเบิดของยานชาแลนเจอร์ กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกาหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวอเมริกันกลายเป็นภาพที่ติดตาคนในยุคนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ เพียงแค่ไม่กี่นาทีหลังการระเบิด คนแทบจะครึ่งประเทศก็รู้ว่าพวกเขาได้เสียนักบินทั้ง 7 คนและยานชาแลนเจอร์ไปแล้ว
Across the nation, people groped for words. “It exploded,” murmured Brian French, a senior at Concord High School in New Hampshire, as the noisy auditorium fell quiet. A classmate, Kathy Gilbert, turned to him and asked, “Is that really where she was?”
บทความ ได้เล่าถึงหนึ่งในความสูญเสียที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ คุณครูคริสตินา แม่พิมพ์ของชาติที่ถูกคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในนักบินอวกาศพลเรือนคนแรก ๆ ที่หวังจะเดินทางไปในอวกาศและนำเรื่องราวการผจญภัยของเธอมาเล่าให้เด็ก ๆ ฟัง แต่เรื่องนั้นก็คงไม่เกิดขึ้นตลอดกาล เมื่อเธอเป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากภารกิจในครั้งนี้
ภาพหน้าปกของ TIME ในตอนนั้นเป็นภาพยานชาแลนเจอร์ขณะที่มันระเบิดออกเป็นเสี่ยง ๆ ไม่มีข้อความอธิบายหรือคำบรรยายใด ๆ ดึงสายตาของผู้อ่านไปจากภาพการระเบิด พร้อมข้อความสั้น ๆ ว่า “กระสวยอวกาศชาแลนเจอร์ 28 มกราคม 1986”
Onward to Mars
18 กรกฏาคม 1988 เป็นครั้งแรกที่นิตยสาร TIME พูดถึงการเดินทางไปยังดาวอังคารของมนุษย์ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวการพัฒนาสถานีอวกาศทั้งของฝั่งโซเวียตและฝั่งสหรัฐเอง (ตอนนั้นโซเวียตมีสถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศที่ซับซ้อนและเป็นพื้นฐานของสถานีอวกาศนานาชาติปัจจุบัน) TIME เล่าว่าซักวันหนึ่งสถานีอวกาศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถเดินทางไปยังดาวอังคารได้
From the Kennedy Space Center and the Soviet Union’s Baikonur Cosmodrome, powerful shuttles and unmanned rockets lift off week after week, bearing construction modules and fuel supplies to a giant space station in earth orbit. There, skilled workers have been assembling the ship that will take the first humans to Mars.
ในตอนนั้นเป็นช่วงหลังยุค Apollo ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า NASA มีแผนที่จะไปดาวอังคารในอีก 2-3 ปีข้างหน้านับจากวันที่ TIME ลงบทความ แต่อย่างไรก็ตามภารกิจการไปดาวอังคารของมนุษย์ยังคงไม่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
U.S. Returns to Space
10 ตุลาคม 1988 เป็นเวลานานกว่า 2 ปีหลังจากที่อเมริกาได้เสียกระสวยอวกาศชาแลนเจอร์ในปี 1986 กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอร์รี่ ก็ได้บินขึ้นอีกครั้งจากแหลมเคอเนอเวอรัล สร้างกระแสให้กับสังคมต้อนรับการกลับมาของกระสวยอวกาศ หลังจากภาพติดตาที่ไม่น่าจดจำปรากฏให้เห็นขึ้นและถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ
Finally, spectators joined in for the last 15 seconds of countdown, the engines ignited and the shuttle rose majestically from the pad, carrying its crew of five veteran astronauts. Over the space center’s loudspeakers came the triumphant announcement: “Americans return to space, as Discovery clears the tower.”
บทความ การกลับมาครั้งนี้เป็นการประกาศว่า อเมริกานั้นพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการอวกาศทั้งหมดอีกครั้ง ภาพที่ปรากฏบนหน้าปกของ TIME ไม่มีอะไรเลยนอกจากภาพกระสวยอวกาศกำลังพุ่งขึ้นพร้อมกับคำว่า “Whew! America Return to Space”
Uncovering the Secrets of Mars
14 กรกฏาคม 1977 ในปี 1997 NASA ได้ทำการส่งยาน Pathfinder ไปลงจอดยังดาวอังคาร เป็นการเดินทางกลับสู่ดาวอังคารอีกครั้งนับตั้งแต่ภารกิจ Viking ในปี 1975 ในครั้งนี้ NASA ใช้ยานขนาดเล็กและลงจอดด้วยเทคนิคที่ไม่ซับซ้อนส่งผลให้ภารกิจ Pathfinder เป็นความสำเร็จในการสำรวจดาวอังคารของ NASA ที่น่าจดจำเลยทีเดียว
หนึ่งในผู้โดยสารที่เดินทางไปกับยานก็คือหุ่นยนต์ล้อเลื่อนขนาดจิ๋วที่ชื่อ Sojourner มันเป็นยานแบบ Rover (มีล้อ) ลำแรกที่ถูกส่งไปยังดาวอังคาร ทำให้สามารถวิ่งไปสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์แดงนี้ได้อย่างอิสระ
From the surface of Mars–where the sky is salmon and Earth is a blue morning star–you probably would have noticed the spaceship coming. It may have been the noise the thing made that caught your attention; although the Martian atmosphere is spent and shredded, it’s not too tenuous to carry sound.
TIME ได้เริ่มต้น บทความ ด้วยการบรรยายการเดินทางมาถึงดาวเคราะห์แดงของยาน Pathfinder ด้วยสำนวนการเขียนที่สวยงาม “บนดินแดนที่ท้องฟ้าเป็นสีส้มอันมีโลกเป็นดาวรุ่งสาง” ตามด้วยการเล่าเรื่องการสำรวจดาวอังคารของยาน Pathfinder
The Columbia Is Lost – Feb 10, 2003
10 กุมภาพันธ์ 2003 เราตั้งชื่อกระสวยอวกาศของเราอย่างมีความหวัง แอตแลนติส ชาแลนเจอร์ ดิสคัฟเวอร์รี่ เอนเดฟเวอร์” ความเสี่ยงนั้นถูกสร้างมาพร้อมกับชื่อของมัน “โคลัมเบีย” กัปตันทีมของเรือ (กระสวย) ทั้ง 4 ลำถูกตั้งชื่อตามเรืออเมริกันลำแรกที่เดินทางรอบโลกเพื่อนำสินค้าไปขายที่จีน ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับกระสวยอวกาศ เว้นแต่ว่าในครั้งนี้ มันกลายเป็นหายนะ ที่คอยย้ำเตือนเราว่า ความรู้นั้นไม่ได้มาได้ง่าย ๆ เลย ผลที่ตามมาอยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์ของเราทั้งปวง โดยเฉพาะเมื่อเรือลำนี้ได้ออกผจญภัย
We name our shuttles for our aspirations–Atlantis, Challenger, Discovery, Endeavour–the risks built into the very idea. Columbia, the fleet’s pioneer, was named after an old Boston sloop that was the first American ship to circumnavigate the globe, carrying a cargo of otter skins to China. Any risk much repeated can become routine, and so it was for shuttle flights, except when they become tragic. That’s when we are reminded that knowledge doesn’t come easy and that many consequences are unintended, especially when we set off on an adventure.
นี่คือส่วนหนึ่งของ บทความ ที่ขนลุกที่สุดเมื่อ TIME ได้บรรยายความสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหลังจากการระเบิดของยานชาแลนเจอร์ ในปี 2003 ยานโคลัมเบียแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ในขณะที่พานักบินอวกาศ 7 คนกลับบ้าน พวกเขากลับสู่โลกแต่เท้าของพวกเขาไม่มีวันได้แตะพื้นดินอีกตลอดกาล ยานระเบิดกลางอากาศแลกสลายไปพร้อมกับนักบินทั้ง 7
หน้าปกของ TIME เล่มนี้เขียนด้วยคำพูดที่สั้น ๆ แต่ทำให้ขนลุกว่า “The Columbia is Lost”
Mission to Mars
26 มกราคม 2004 Mars Fever กลับมาอีกครั้ง ในปี 2003 เป็นปีที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลกมากที่สุดทำให้มีการส่งยานอวกาศต่าง ๆ จากนานาชาติไปเยือนดาวเคราะห์แดงดวงนี้ นั่นทำให้สาธรณชนกับมาให้ความสนใจกับดาวอังคารอีกครั้ง รวมถึงแผนการการเดินทางไปยังดาวอังคารโดยมนุษย์ก็ชัดเจนมากขึ้น TIME เล่าอัพเดทโครงการต่าง ๆ ในการเตรียมทั้งเทคโนโลยี การฝึกมนุษย์อวกาศ ที่จะนำพาสู่ภารกิจการสำรวจดาวอังคารในอนาคต
an extraterrestrial greenhouse and even a ground cover of volcanic dust shipped in from Hawaii–about as close as you can get to real Martian dirt without actually visiting the planet. Astronauts training for a Mars mission could spend up to 600 days in this little village.
ใน บทความ TIME ยังได้ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และในมุมมองเกี่ยวกับการเมืองว่าด้วยเรื่องการส่งนักบินอเมริกันไปยังดาวอังคาร
A Year in Space
5 มกราคม 2015 ในปี 2015 นักบินอวกาศ Scott Kelly ได้ขึ้นปก TIME ซึ่งเป็นการบอกเล่าหนึ่งในการทดลองที่น่าสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ในสภาพอวกาศ การทดลองนั้นก็คือการนำฝาแฝดมาจับแยกกันคนนึงอยู่บนโลกและคนนึงอยู่ในอวกาศ คุณ Scott คือแฝดผู้อยู่ในอวกาศ และจะอยู่เป็นเวลา 1 ปีเต็ม ในขณะที่คุณ Mark แฝดของคุณ Scott จะอยู่บนโลก ความเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายจะถูกบันทึกอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลสำหรับภารกิจระยะยาวในอวกาศรวมถึงการส่งคนไปดาวอังคาร
But most of all, Mark, 50, knows Scott, 50—which is how it is with brothers, especially when they’re identical twins, born factory-loaded with the exact same genetic operating system. The brothers’ connection will be more important than ever beginning in March, when Scott takes off for a one-year stay aboard the space station, setting a single-mission record for a U.S. astronaut.
เรื่องราวนี้ยังถูกนำมาทำเป็นสารคดี Production โดย TIME ในชื่อ A Year in Space อีกด้วย นับว่าเป็นโครงการที่ TIME ให้ความสนใจและจับตามองอย่างมากเลยทีเดียว
นอกจาก 12 เรื่องราวนี้ยกมาแล้ว TIME ยังคงบันทึกเรื่องราวอื่น ๆ ในวงการอวกาศมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในนิตยสารแบบดั้งเดิมหรือบนออนไลน์ รวมถึงยังมีการออกหนังสือเป็น Collection ต่างสำหรับคนที่ชอบอวกาศได้เก็บสะสมกัน
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co จัดอันดับบางส่วนจาก @nickcarbone