ทำไม Star Trek ให้ความสำคัญกับความหลากหลายที่ไม่ใช่แค่เรื่องของเชื้อชาติ

หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินข่าวที่ว่าจะมีย้ายซีรีส์ Star Trek จากเดิมที่บน Netflix ไปอยู่บน Paramount+ แทน โดยจะทยอยเอาไปทีละเรื่องโดยเริ่มจาก Star Trek: Discovery (เราจึงไม่เห็นทาง Netflix ออกมาโปรโมท Discovery Season 4 กันนั่นเอง) และซีรีส์ก่อน ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ รวมไปจนถึง Star Trek เส้นเวลา Kelvin (ที่เป็นหนังจอเงินตั้งแต่ปี 2009 นี่แหละ) ซึ่งน่าจะย้ายไปหมดพอดีประมาณปี 2022 ที่นี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Paramount+ เปิดบริการในประเทศต่าง ๆ น้อยมากถ้าเทียบกับ Netflix โดยประเทศส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่

ภาพเรนเดอร์ยาน USS Discovery A จากเกม Minecraft โดย BikMCTH (ไม่มีอะไรหรอก เห็นว่าเท่ดี)

*เนื้อหาต่อจากนี้อาจเปิดเผยเนื้อหาที่ไม่สำคัญบางส่วนของซีรีส์ Star Trek

แล้วทีนี้ที่ว่ามันเกี่ยวกับชื่อบทความนี้ยังไงอ่ะคุณ? เอาเป็นว่าเดี๋ยวเก็บไว้อธิบายกันท้ายบทความแล้วมาเริ่มเข้าประเด็นหลักกันดีว่า ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1966 นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ franchise รายการโทรทัศน์ที่ชื่อว่า Star Trek ที่ว่าด้วยเรื่องของซีรีส์แนว Sci-Fi ผจญภัย แน่นอนว่าในภาพรวมคนทั่วไปส่วนใหญ่จะมองว่ามันเป็น fiction ที่เน้นไปทางอวกาศ ซึ่งนั่นไม่แปลกหรอกที่คนจะคิดกันแบบนั้นเพราะมันคือโครงหลักของมันจริง ๆ

สื่อออนไลน์อย่าง Space.com เคยวิเคราะห์ไว้ในบทความชื่อว่า What ‘Star Trek’ has taught us about diversity พูดถึงกรณีนี้เช่นกัน

ลูกเรือยาน Enterprise ในช่วงภารกิจ 5 ปี ที่มา – ViacomCBS

แต่ถ้าเรามองให้ลึกกว่านี้ล่ะ? เราเห็นอะไรในนั้นอีก? ในส่วนของตัวละครหลักในซีรีส์ The Original Series ถ้านับแค่ส่วนเนื้อหาของกัปตัน Kirk และมองแค่ของฝั่งที่เป็นมนุษย์โลกนอกจากคนขาวที่เป็น Character ส่วนใหญ่ของเรื่องแล้ว ยังมีตัวละคร 2 ตัวหลัก ๆ ด้วยกันที่ไม่ใช่คนขาว (แต่เอาเข้าจริงก็มีเชื้อมางฝั่งนั้นนั่นแหละ) นั่นคือ Hikaru Zulu ที่รับบทโดยคุณ George Takei นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น-อเมริกันและ Nyota Uhura ที่รับบทโดยคุณ Nichelle Nichols นักแสดงสัญชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งทั้งสองนับได้ว่าเป็นตัวแทนของคนเอเชียและคนผิวสีและมีตำแหน่งสำคัญที่ประจำอยู่บนสะพานเรือของยาน Enterprise อีกด้วย จากที่เล่ามานี้เราเชื่อว่านอกจากทางทีมงาน Star Trek TOS จะให้ความสำคัญในด้านความหลากหลายแล้วยังให้ความสำคัญของความเท่าเทียมอีกด้วย

แน่นอนว่าผู้เป็นเบื้องหลังของแนวคิดนี้คือคุณ Gene Roddenberry หรือผู้ให้กำเนิดซีรีส์เรื่อนี้นั่นเอง โดยคุณ Roddenberry เชื่อในแนวคิดของ Infinite Diversity in Infinite Combinations โดยถึงแม้ใน ณ ขณะนั้นจะถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่ถูกใช้เพื่อการตลาดมากกว่าก็ตาม แต่ลูกชายของเขาอย่าง คุณ Rod Roddenberry Jr. ก็ได้ออกมายืนยันในหนังสือเล่าประวัติศาสตร์ของซีรีส์ Star Trek “The Fifty Year Mission” ว่าแนวคิด Infinite Diversity in Infinite Combinations ถือว่าเป็นหนึ่งในกระดูกสันหลังของ franchise เรื่องนี้และเป็นการมุ่งเน้นไปบนแนวคิดของการยอมรับในระดับสากล (ในมุมมองของเรา เรามองว่าการ “ยอมรับในระดับสากล” ไม่ได้หมายถึงพวกกลุ่มคนผิวขาวเพียงชนชาติเดียวแต่หมายถึงชนชาติที่หลากหลายนั่นเอง)

สำหรับ franchise นี้ ความหลากหลายแบบ Infinite Diversity in Infinite Combinations ไม่ได้มีเพียงแค่ The Original Series เพียงอย่างเดียว แต่เราจะเห็นมันแฝงอยู่ในแทบจะทุกซีรีส์ของ franchise นี้ด้วยเช่นกันเช่น The Next Generation ที่เราจะเห็นตัวละครหญิงถึง 2 คนที่มีความสำคัญกับเนื้อเรื่องที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมในบทบาทของชาย-หญิง Deep Space Nine ที่เราจะเห็นตัวละครผิวสีที่มีความสันพันธ์กันแบบพ่อลูก รวมไปจนถึงภาค Yoyager ที่มีตัวละครที่เป็นเจ้าหน้าที่หญิงถึง 3 คนโดยหนึ่งในนั้นมีตำแหน่งระดับกัปตันที่แสดงให้เห็นว่าคนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชาย นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งซีรีส์แยกที่แฟน ๆ ต่างจดจำกันได้ดี

และกลิ่นอายของความเป็น Infinite Diversity in Infinite Combinations ได้ถูกตีความใหม่ให้กว้างและครอบคลุมมากขึ้นด้วยภาค Discovery ซึ่งแน่นอนว่าเป็นภาคที่เกิดหลังยุค 2000 ยุคที่หลาย ๆ คนเริ่มเปิดใจให้กับความหลากทางเพศที่กว้างขึ้นอย่าง LGBTQ+ โดยเราจะได้เห็นมันในซีรี่ย์นี้อย่างชัดเจนและลงตัว หรือการมีตัวละครที่ไม่ใช่แค่ต่างชนชาติหรือมีสีผิวที่ต่างกันออกไปมีตำแหน่งระดับกัปตัน แต่เป็นถึงต่างสปีชีส์ และการมีตัวละครหลักผิวสีที่มากขึ้นก็นับว่าเป็นหนึ่งในความหลายหลายที่ Star Trek ยังคงคุณภาพไว้อยู่เช่นกัน อาจจะนับได้ว่าเป็นภาคที่มีกลิ่นอายของความหลากหลายครบรสมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาใน franchise นี้

ถึงแม้ว่าในขณะที่เราดูซีรีส์ซักซีรีส์ของ franchise นี้แล้วไม่ได้สังเกตุถึงความหลากหลายที่กล่าวมานี้ แต่หากว่ามีซีรี่ส์ที่ใช้ชื่อ Star Trek แต่เรากลับไม่เห็นความหลากหลายที่ว่ามา เราเชื่อว่าทุกคนจะต้องส่ายหน้าและรู้สึกลึก ๆ ไปในทางเดียวกันว่า “นี่ไม่ใช่ Star Trek ที่เรารู้จัก” อย่างแน่นอน ถึงตรงนี้แล้วเราคิดว่าหลาย ๆ คนที่แวะเข้ามาอ่านบทความนี้น่าจะเริ่มตั้งคำถามการการวางโปรแกรมฉาย Star Trek ในตอนนี้กันแล้วว่าทำไมในยุคที่ความบันเทิงเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายถึงกลับมี franchise ที่อ้างถึงความหลากหลายเปิดให้เข้าถึงแค่ในประเทศตะวันตกกันล่ะ นั่นถือว่าเป็นการไม่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายที่โครงเรื่องพยายามจะสื่อออกมารึเปล่า ซึ่งเราเองเป็นหนึ่งในคนที่ตั้งคำถามแบบนี้เช่นกัน

สำหรับส่วนสุดท้ายนี้ไหน ๆ ก็พูดถึง Star Trek กันในบทความนี้แล้ว เราอยากจะฝาก Animation เกี่ยวกับ Star Trek ที่สร้างโดยคนไทยด้วยกันที่เราไปช่วยงานมานิดหน่อย โดยเป็น Animation ที่ใช้โมเดลจากวีดีโอเกม Minecraft ที่เราไปช่วยทำบางส่วน ซึ่งนับได้ว่าไม่มีใครที่ไหนในประเทศนี้ทำแล้วนอกจาก BikMCTH โดยในส่วนของ Animation จะเกี่ยวกับยาน USS Discovery A จาก Star Trek Discovery Season 3

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

19 y/o Just mechanical engineering student, hobbyist illustrator, amateur writer who wanted to be a rocket propulsion engineer.